วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

จังหวัดอํานาจเจริญ

จังหวัดอํานาจเจริญ





       พระมงคลมิ่งเมือง            แหล่งรุ่งเรืองเจ็ดลุ่มน้ำ
                             งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์             เทพนิมิตพระเหลา
                             เกาะแก่งเขาแสนสวย          เลอค่าด้วยผ้าไหม
                                             ราษฎร์เลื่อมใสใฝ่ธรรม




 จังหวัดอํานาจเจริญ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ โดยเส้นทางรถยนต์ประมาณ 568 กิโลเมตร มีพื้นที่การปกครองทั้งสิ้น 3,161.248 ตารางกิโลเมตร เริ่มตั้งเป็นเมืองในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โดยขึ้นอยู่กับนครเขมราฐต่อมาจึงได้ย้ายมาขึ้นต่อเมืองอุบลราชธานีจนกระทั่งได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นจังหวัดอํานาจเจริญ เมื่อวันที่1 ธันวาคม 2536


หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 56 ตำบล 653 หมู่บ้าน

2.              อำเภอชานุมาน
4.              อำเภอพนา
5.              อำเภอเสนางคนิคม
6.              อำเภอหัวตะพาน
7.              อำเภอลืออำนาจ






สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
  • สัญลักษณ์ประจำจังหวัดคือ รูปพระมงคลมิ่งเมือง เปล่งแสงฉัพพรรณรังสี เปล่งรัศมีโดยรอบพระเศรียร ซึ่งให้ความคุ้มครองชาวเมือง
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกจานเหลือง (Butea monosperma)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: ตะเคียนหิน (Hopea ferrea)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: พระมงคลมิ่งเมือง แหล่งรุ่งเรืองเจ็ดลุ่มน้ำ งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เทพนิมิตพระเหลา เกาะแก่งเขาแสนสวย เลอค่าด้วยผ้าไหม ราษฎร์เลื่อมใสใฝ่ธรรม
สถานศึกษา
โรงเรียน
  • วิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญ
  • วิทยาลัยการอาชีพหัวตะพาน
  • โรงเรียนโปลีเทคอำนาเจริญ
ระดับอุดมศึกษา

สถานที่สำคัญของจังหวัดอำนาจเจริญ
พระมงคลมิ่งเมือง




รูปภาพเมือง






เที่ยวมาแล้วพระใหญ่ค่ะ



อำเภอชานุนาม 

พระราชดำริ
ทิวทัศน์ริมฝั่งโขง อำเภอชานุมานมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขงเป็นระยะทางประมาณ 38 กิโลเมตร ทำให้มีลักษณะทางธรรมชาติและทัศนียภาพของบรรยากาศสองฟากฝั่งโขงที่งดงามน่าประทับใจโดยเฉพาะบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอชานุมาน มีทางเดินเลียบริมฝั่งโขงเป็นระยะทางยาวเหมาะแก่การเดินชมทัศนียภาพ ในช่วงฤดูแล้ง (กุมภาพันธ์-พฤษภาคม) จะมองเห็นแก่งกลางแม่น้ำโขง เช่น แก่งตางหล่าง ที่หมู่บ้านศรีสมบูรณ์ใกล้กับตัวอำเภอและแก่งหินขัน ที่บ้านหินขัน (ห่างจากตัวอำเภอไปทางใต้ประมาณ 13 กิโลเมตร)
สภาพตอนที่น้ำโขงลดลง

อำเภอพนา

วนอุทยานดอนเจ้าปู่ เป็นพื้นที่ป่าเบญจพรรณกว่า 200 ไร่ ซึ่งประชาชนท้องถิ่นสงวนรักษาไว้เป็นดอนปู่ตา มีศาลเจ้าปู่ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวบ้านและเป็นที่อาศัยของลิงจำนวนมาก


วัดไชยาติการาม ตั้งอยู่ที่บ้านโพนเมือง ตำบลไม้กลอน วัดนี้มีพระพุทธรูปสำริดประทับขัดสมาธิราบปางมารวิชัยสูง 55 เซนติเมตร จัดอยู่ในกลุ่มพระพุทธรูปศิลปะลาวสกุลช่างเวียงจันทน์ เปรียบเทียบได้กับพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ระเบียงหอพระแก้วเมืองเวียงจันทน์และพระพุทธรูปที่วัดวิชุล เมืองหลวงพระบาง ซึ่งมีอายุอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงพุทธศตวรรษที่ 23

 อำเภอเมือง
วัดพระเหลาเทพนิมิต พระอุโบสถของวัดมีรูปทรงสถาปัตยกรรมแบบล้านนา
มีพระประธานคือ พระเหลาเทพ-นิมิตเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ประดิษฐานในพระอุโบสถ องค์พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ลงรักปิดทองงดงาม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2263 กล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในภาคอีสาน ซึ่งจัดอยู่ในพระพุทธรูปศิลปะลาวสกุลช่างเวียงจันทน์ ที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปศิลปะล้านนา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21-22 สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นหลังจากระยะเวลาดังกล่าวไปเล็กน้อย เนื่องจากมีอิทธิพลของฝีมือช่างท้องถิ่นปรากฏอยู่มากเป็นต้นว่าเค้าพระพักตร์ เปลวรัศมีที่ยืดสูงขึ้นสัดส่วนของพระเพลาและพระบาทซึ่งคล้ายคลึงกับที่ปรากฏอยู่ในกลุ่มพระพุทธรูปไม้ และสำริด ที่สร้างขึ้นระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ 23 ถึงพุทธศตวรรษที่ 24
ข้อมูลเพื่อการเดินทางไปวัดพระเหลาเทพนิมิต
วัดพระเหลาเทพนิมิต ตั้งอยู่ที่อำเภอพนา บนทางหลวงหมายเลข 2134 ห่างจากตัวอำเภอพนาประมาณ 2 กิโลเมตร


พุทธอุทยานและพระมงคลมิ่งเมือง
 ตั้งอยู่ที่เขาดานพระบาท ห่างจากตัวเมืองไปทางด้านเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร บริเวณวัดเป็นหินดานธรรมชาติร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด ซึ่งได้รับการปรับแต่งให้เป็น พุทธอุทยาน
ส่วนพระมงคลมิ่งเมือง หรือพระใหญ่ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 11 เมตร ความสูงจากระดับพื้นดินถึงยอดเปลวรัศมี 20 เมตร เป็นพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลสกุลศิลปะอินเดียเหนือ (ปาละ) ที่แผ่อิทธิพลมายังภาคอีสานของไทย เมื่อพันปีเศษ ออกแบบโดย จิตร บัวบุศย์ ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กครอบองค์เดิมซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น แล้วแต่งองค์พระด้านนอกด้วยกระเบื้องโมเสคสีทอง สร้างเมื่อปีพ.ศ.2508 เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทางด้านหลังของพระมงคลมิ่งเมืองมีพระพุทธรูปลักษณะแปลกอีก 2 องค์ ห่มจีวรเหลือง มีนามว่า พระละฮายหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า พระขี่ล่ายหมายถึง ไม่สวย ไม่งาม โดยเรียกตามรูปลักษณ์ขององค์พระพุทธรูปโบราณ พบในหนองน้ำเมื่อปี พ.ศ. 2505 ครั้งที่มีการปรับปรุงบริเวณโดยรอบเพื่อทำฝายกั้นน้ำเชื่อกันว่าเป็นพระที่ให้โชคลาภประชาชนมักเดินทางมาขอพรอยู่เสมอ
วัดถ้ำแสงเพชรหรือวัดศาลาพันห้อง

 พื้นที่วัดมีบริเวณกว้างขวาง ประกอบด้วย วิหาร เจดีย์และพระนอนที่ก่อสร้างอย่างสวยงาม ทางด้านทิศเหนือของวิหารมีถ้ำขนาดใหญ่เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม นอกจากนี้บริเวณศาลาพันห้องสามารถชมธรรมชาติที่สวยงามโดยรอบแวดล้อมด้วยโขดหินน้อยใหญ่มากมาย เหตุที่ได้ชื่อว่าถ้ำแสงเพชรก็เนื่องมาจากประกายของเกล็ดหินยามเมื่อต้องกับแสงตะวันจะวาววับคล้ายกับแสงเพชร วัดถ้ำแสงเพชร เป็นสถานที่ปฎิบัติธรรมสายพระอาจารย์ชา สุภัทโท สาขาที่ 5 ของวัดหนองป่าพง มีพระภิกษุนานาชาติมาปฏิบัติธรรมอยู่เป็นประจำ
ข้อมูลเพื่อการเดินทางไปวัดถ้ำแสงเพชรหรือวัดศาลาพันห้อง
ตั้งอยู่บนถนนสายอำนาจเจริญ-เขมราฐ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 18 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายตามทางขึ้นเขาเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร
ร้อนม๊าก.......มากเลยค่ะ

สวนเกษตรชิตสกนต์
ตั้งอยู่บริเวณเดียวกันกับชิตสกนธ์รีสอร์ท เป็นสวนเกษตรประเภทไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งมีหลายประเภท และที่มีชื่อเสียงได้แก่ สวนดอกดาวเรือง นักท่องเที่ยวที่ไปเยี่ยมชมสวนฯ สามารถร่วมกิจกรรมทางการเกษตรของสวนฯ ได้
กิจกรรมหลักของสวนเกษตรชิตสกนต์ คือ การปลูกดอกดาวเรือง เพื่อตัดดอกส่งไปยังตลาดกลางกรุงเทพมหานคร จากพื้นที่กว่า 30 ไร่ ที่ถูกแบ่งแยกออกจากชิตสกนต์ รีสอร์ท ท่านจะได้พบและชื่นชมกับความสวยงามของไร่ดอกดาวเรืองอเมริกันพันธุ์ Sovereign Gold ที่ถูกจัดแบ่งล็อคการปลูกไว้รอนักท่องเที่ยวที่ใฝ่หาความสวยงามควบคู่กับความรู้และวิชาการ ได้เชยชมไร่ดาวเรืองที่เหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่งตลอดปี นี่คือทางเลือกใหม่สำหรับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรไทย นอกจากนี้ สวนเกษตรชิตสกนต์ ยังมีพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด พืชผัก สมุนไพร และพันธุ์ไม้หายากให้ท่านได้ศึกษา
  • นำชมสวนดอกดาวเรืองเพื่อการส่งออก
  • ชมการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยระบบธรรมชาติ
  • การสาธิตทางการเกษตรต่างๆ
  • บริการจัดกิจกรรมพาแลงเชิงอนุรักษ์ริมสวนดาวเรือง (Theme party)
  • บริการที่พักและอาหาร
สวนเกษตรชิตสกนธ์ อยู่ริมอ่างเก็บน้ำพุทธอุทยาน 42 หมู่ 14 อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ โทร. (045) 511-500-1
การสาธิตทางการเกษตรจะต้องประสานงานล่วงหน้าก่อนเข้าชม

หมู่บ้านหมอลำ หนองปลาค้าว
 เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของอำนาจเจริญ ตั้งอยู่ที่ตำบลปลาค้าว อำเภอเมือง เป็นชุมชนที่ก่อตั้งมาประมาณ 200 ปี ประชากรมีเชื้อสายภูไท เป็นหมู่บ้านที่มีคณะหมอลำมากที่สุดในประเทศไทย ประมาณ 20 คณะ มีการอนุรักษ์ศิลปะหมอลำ การพัฒนา ประยุกต์หมอลำ เป็นหลายรูปแบบ เช่น หมอลำกลอน หมอลำพื้น หมอลำชิงชู้ หมอลำหมู่ หมอลำซิ่ง และหมอลำผสมวงดนตรี นำไปแสดงในงานต่าง ๆ เป็นที่เลื่องลือไปทั่วประเทศไทย จนกลายเป็นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของตำบลปลาค้าว
ก่อนที่คณะหมอลำจะไปแสดงในงานต่าง ๆ จะมีพิธีไหว้ครูหมอลำ หรือที่เรียกว่าเปิดวง ซึ่งมีบุคลากรตั้งแต่ 80-200 คน แสดงให้ชมฟรีก่อนออกไปรับงาน หมอลำบ้านปลาค้าวสร้างรายได้เข้าสู่ตำบลปีหนึ่งไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท ปัจจุบันมีการฝึกหมอลำน้อย โดยมีการลำว่ากลอนปากเปล่าปล่อยเสียงเป็นจังหวะจะโคน พร้อมกับฟ้อนร่ายรำอย่างถูกวิธี ทั้งชายหญิง นับว่าเป็นจุดที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่จะมาชม/ฟังฝีปากหมอลำน้อยที่บ้านปลาค้าวแห่งนี้
นอกการการแสดงหมอลำแล้วชาวบ้านปลาค้าวยังได้เก็บรักษาโบราณวัตถุอันเป็นเอกลักษณ์พื้นบ้านไว้อย่างดียิ่ง อาทิ วิหารช่างญวน ตั้งอยู่ที่วัดศรีโพธิ์ชัย พระเจ้าใหญ่ศรีโพธิ์ชัย ที่มีอายุราว 200 ปี พระพุทธรูปแกะสลักไม้ พระยานาค (รางสรงน้ำพระ) มีงานฝีมือผลิตเครื่องดนตรี อาทิ พิณ แกะสลักลวดลายต่าง ๆ งานแกะสลัก การทอผ้า และมีระบบการจัดการนำเที่ยว Home Stay จำนวน 25 หลัง เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ประธานกลุ่มโฮมสเตย์ และวัฒนธรรมบ้านปลาค้าว อ.เหรียญชัย โพธารินทร์ โทร. (081) 878-7833




 
พระมงคลมิ่งเมือง ประดิษฐานอยู่ที่เขาดานพระบาท อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2508 เป็นพระพุทธรูปคอนกรีตเสริมเหล็ก ประดับกระเบื้องโมเสกสีทองทั้งองค์ มีขนาดหน้าตักกว้าง 11 เมตร มีความสูง 20 เมตร สร้างขึ้นโดยความร่วมมือของประชาชน และส่วนราชการในจังหวัดอุบลราชธานี (เดิมจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี)
บริเวณเขาดานพระบาท มีหลักฐานว่าเป็นพื้นที่ศาสนสถาน มากว่า 2,000 ปี เนื่องจากมีการขุดพบพระพุทธรูปหินทรายสีแดง 2 องค์ เป็นศิลปะทวาราวดี ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ด้านหลังพระมงคลมิ่งเมือง โดยพระพุทธรูป 2 องค์ดังกล่าว มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "พระขี้ร้าย" หรือ "พระละฮาย" ซึ่งแปลว่า ไม่สวย ไม่งาม ตามพุทธลักษณะ

อ่างเก็บน้ำพุทธอุทยาน อยู่ฝั่งตรงข้ามกับพระมงคลมิ่งเมือง เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญทางด้านเกษตรและประมง พร้อมทั้งยังเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ มีลมพัดเย็นสบาย ริมอ่างเก็บน้ำ เป็นที่ตั้งของรีสอร์ทหลายแห่ง

 อำเภอลืออำนาจ
วัดโพธิ์ศิลา ตั้งอยู่ที่บ้านเปือยหัวดง ตำบลเปือย อำเภอลืออำนาจ สิ่งที่น่าสนใจในวัดคือ ใบเสมาสมัยทวาราวดีขนาดใหญ่ สร้างจากหินทรายขาว อายุประมาณ 1,000 ปี ราว พ.ศ. 1,200-1,300 ศิลปะขอมแบบไพรกเมง มีลักษณะเรียว ปลายแหลม คล้ายใบหอกป้าน ด้านล่างคอดส่วนฐานสลักลายดอกบัวบาน ใบเสมาเหนือแนวกลีบบัวสลักแนวแกนเสมาคล้ายรูปสถูปจำลองหรือปลียอดสถูป ด้านล่างเป็นรูปหม้อน้ำตั้งซ้อนอยู่บนองค์ระฆังคว่ำ ถัดไปเป็นปล้อง มีแนวลวดลายบัวคั่นตรงกึ่งกลาง แกนเสมาสลักลายใบไม้ 3 แฉก หงายขึ้นรับลายดอกไม้ครึ่งดอก ในขอบวงโค้ง 3 วง เรียงต่อกันส่วนยอดเป็นพุ่มปลายแหลมเหมือนยอดธงมีอุบะห้อย ลวดลายกลีบบัว บนฐานเสมาได้รับอิทธิพลมาจากลายกลีบบัวฐานพระพุทธรูปหรือธรรมจักรศิลปทวาราวดีทางภาคกลางของประเทศไทย ส่วนลายดอกไม้ครึ่งดอกในวงโค้ง 3 วง ที่เรียงต่อกันเป็นวงเดียวกันนั้นคล้ายคลึงกับลายดอกไม้ครึ่งดอกในวงโค้งที่ปรากฎอยู่บนฐานเทวดาซึ่งย่อตัวพนมมือหันเข้าหาจุดกึ่งกลางของทับหลัง ซึ่งขุดพบที่บริเวณประตูด้านทิศตะวันออกของปรางค์ทิศเหนือของปราสาทเขาน้อยสีชมพู อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
อำเภอหัวตะพาน

ศูนย์ศิลปาชีพบ้านสร้างถ่อ ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 5 กิโลเมตร มีถนนลาดยางเข้าถึง เป็นศูนย์ผลิตและฝึกอบรมงานด้านหัตถกรรมพื้นบ้านหลายประเภท เช่น การทอผ้า และการเจียรไนพลอย เป็นต้น นักท่องเที่ยวสามารถชมวิธีการผลิตและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้ด้วย
เทศกาลงานประเพณีและวัฒนธรรม

ชาวอํานาจเจริญมีวิถีชีวิตอยู่บนพื้นฐานของประเพณี อันเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวอีสานทั่วไป คือมี ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
หมายถึงประเพณีสิบสองเดือนที่ยึดถือปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบันคําว่า ฮีต มาจากคําว่า จารีต ส่วนมากมักจะเป็นงานบุญที่เกี่ยวของกับพุทธศาสนาเป็นหลัก เช่น งานบุญฐาน งานบุญบั้งไฟ งานบุญขาวจี่ งานบุญเดือนสิบสอง (ลอยกระทง) งานบุญสรงน้ำ(สงกรานต์) เป็นต้น

ส่วน คองสิบสี่ หมายถึง ครรลองคลองธรรม หรือ แบบแผนในการประพฤติ ปฏิบัติ สิบสี่ประการ เช่น ให้ล้างเท้าก่อนขึ้นบ้าน ตื่นแต่เช้ามาใส่บาตร ห้ามเดินเหยียบเงาพระสงฆ์ ให้กราบไหว้บิดามารดา เก็บดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระ และหมั่นฟังธรรมทุกวัน เป็นต้น ส่วนด้านวัฒนธรรมของชาวอํานาจเจริญที่มีชื่อเสียงก็คือ การทอผ้าไหม ที่มีเอกลักษณเป็นของตนเอง เช่น ผ้าไหมบ้านจานลาน ผ้าไหมบ้านสร้อย ที่อําเภอพนา และผ้าไหมบ้านเปือย ผ้าไหมบ้านหัวดง และผ้าไหมบ้านน้ำท่วม ที่กิ่งอําเภอ ลืออํานาจ เป็นต้น

นอกจากนั้นที่อําเภอชานุมานประชาชนส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวภูไทหรือผู้ไทย ที่อพยพมาจากประเทศสาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาว ชาวภูไทมีความสามารถในการทอผ้าขิดเป็นพิเศษการให้สีสันและลวดลายของผ้าจะเป็นเอกลักษณ์ของภูไทโดยเฉพาะ และยังมีดนตรีนาฏศิลปพื้นบ้าน ได้แก่ หมอลําที่มีเนื้อหาในการส่งเสริมการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยเป็นพระประมุข นอกจากนั้นชาวอํานาจเจริญยังมีดําริที่จะฟื้นฟูประเพณีลงขวง ซึ่งเป็นวิถีชีวิตแบบหนึ่งของชาวจังหวัดอํานาจเจริญในสมัยเก่าให้เป็นขนบธรรมเนียมประเพณี ประจําจังหวัด การลงขวงเป็นการชุมนุมกันของหนุ่มสาว ที่ฝ่ายสาวจะมีกิจกรรมทอผ้า สาวไหม เป็นต้น ขณะเดียวกันพวกหนุ่มๆ ก็จะมาร่วมวงสนุกโดยบรรเลงเพลงพื้นบ้านด้วยเครื่องดนตรีพื้นบ้านอาทิ แคน พิณ ประกอบกับกิจกรรมทอผ้า และสาวไหม และที่อําเภอชานุมาน ในเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี ทางจังหวัดจัดให้มี ประเพณีการแข่งเรือยาว ซึ่งมีเรือจากอําเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหารเรือจากอําเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เรือจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเรือจากอําเภอชานุมาน จังหวัดอํานาจเจริญมาร่วมแข่งขันเพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีงานแข่งเรือจัดขึ้นที่บริเวณทาน้ำ แม่น้ำโขง หน้าที่ว่าการอําเภอชานุมาน ช่วงเช้าและช่วงบ่ายจะเป็นการแข่งเรือ ส่วนตอนกลางคืนบริเวณที่ว่าการอําเภอจะมีการออกร้านขายสินค้าและมีมหรสพสมโภชน์ตลอดทั้งคืน








ประเพณีลอยกระทง


ชาวอํานาจเจริญมีวิถีชีวิตอยู่บนพื้นฐานของประเพณี อันเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวอีสานทั่วไป คือมี ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
หมายถึงประเพณีสิบสองเดือนที่ยึดถือปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบันคําว่า ฮีต มาจากคําว่า จารีต ส่วนมากมักจะเป็นงานบุญที่เกี่ยวของกับพุทธศาสนาเป็นหลัก เช่น งานบุญฐาน งานบุญบั้งไฟ งานบุญขาวจี่ งานบุญเดือนสิบสอง (ลอยกระทง) งานบุญสรงน้ำ(สงกรานต์) เป็นต้น
ส่วน คองสิบสี่ หมายถึง ครรลองคลองธรรม หรือ แบบแผนในการประพฤติ ปฏิบัติ สิบสี่ประการ เช่น ให้ล้างเท้าก่อนขึ้นบ้าน ตื่นแต่เช้ามาใส่บาตร ห้ามเดินเหยียบเงาพระสงฆ์ ให้กราบไหว้บิดามารดา เก็บดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระ และหมั่นฟังธรรมทุกวัน เป็นต้น ส่วนด้านวัฒนธรรมของชาวอํานาจเจริญที่มีชื่อเสียงก็คือ การทอผ้าไหม ที่มีเอกลักษณเป็นของตนเอง เช่น ผ้าไหมบ้านจานลาน ผ้าไหมบ้านสร้อย ที่อําเภอพนา และผ้าไหมบ้านเปือย ผ้าไหมบ้านหัวดง และผ้าไหมบ้านน้ำท่วม ที่กิ่งอําเภอ ลืออํานาจ เป็นต้น
นอกจากนั้นที่อําเภอชานุมานประชาชนส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวภูไทหรือผู้ไทย ที่อพยพมาจากประเทศสาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาว ชาวภูไทมีความสามารถในการทอผ้าขิดเป็นพิเศษการให้สีสันและลวดลายของผ้าจะเป็นเอกลักษณ์ของภูไทโดยเฉพาะ และยังมีดนตรีนาฏศิลปพื้นบ้าน ได้แก่ หมอลําที่มีเนื้อหาในการส่งเสริมการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยเป็นพระประมุข นอกจากนั้นชาวอํานาจเจริญยังมีดําริที่จะฟื้นฟูประเพณีลงขวง ซึ่งเป็นวิถีชีวิตแบบหนึ่งของชาวจังหวัดอํานาจเจริญในสมัยเก่าให้เป็นขนบธรรมเนียมประเพณี ประจําจังหวัด การลงขวงเป็นการชุมนุมกันของหนุ่มสาว ที่ฝ่ายสาวจะมีกิจกรรมทอผ้า สาวไหม เป็นต้น ขณะเดียวกันพวกหนุ่มๆ ก็จะมาร่วมวงสนุกโดยบรรเลงเพลงพื้นบ้านด้วยเครื่องดนตรีพื้นบ้านอาทิ แคน พิณ ประกอบกับกิจกรรมทอผ้า และสาวไหม และที่อําเภอชานุมาน ในเดือน


สถานที่พัก
ที่พักแนะนำใน จ.อำนาจเจริญ
รายชื่อโรงแรม
 
 
Rubkwan Resort Hotel (Thong Tawee Lakeside Resort) (โรงแรม รับขวัญ รีสอร์ท (ทองทวี เลคไซด์ รีสอร์ท))
 
 
 
 
 
                    ที่อยู่
:
149 หมู่ 5 ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ 37000
                                                           ระดับดาว
:
-
                                                          โทรศัพท์
:
0 4527 0226



Chitsakon Resort Hotel (โรงแรม ชิตสกนธ์  รีสอร์ท)           
 
                     

:
200 - 500 บาท




Suan Nam Nantharat Resort (สวนน้ำนันทรัตน์ รีสอร์ท)




ที่อยู่
:
127 หมู่ 8 ถ.ชยางกูร ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ 37000
ระดับดาว
:
-
โทรศัพท์
:
0 4545 3003
ราคา
:
300 - 500 บาท


Hot Line Resort Hotel (โรงแรม ฮอทไลน์ รีสอร์ท)






ที่อยู่
:
69/1-5 หมู่ 15 ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ 37000
ระดับดาว
:
-
โทรศัพท์
:
0 4527 0222, 08 6248 5515
ราคา
:
300 - 1,000 บาท

Faikid Hotel (โรงแรม ฝ้ายขิด)

                                       Lj The Emerald Hotel (โรงแรม แอล เจ ดิ เอ็มเมอรัล)






ที่อยู่
:
904 หมู่ 9 ถ.อรุณประเสริฐ ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ 37000
ระดับดาว
:
-
โทรศัพท์
:
0 4551 1892, 0 4527 1000, 0 4527 0999
อีเมล์
:
j.darha@gmail.com
ราคา
:
550 - 1,800 บา
 
















อาณาเขต
ที่อยู่
:
449 หมู่ 12 ซ.สำราญราษ ถ.อรุณประเสริฐ ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ 37000
ระดับดาว
:
-
โทรศัพท์
:
0 4551 1222, 0 4551 1888, 0 4551 1999
เว็บไซต์
:
อีเมล์
:
info@faikidhotel.net
ราคา
:
450 - 1,200 บาท


หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. (045) 511-396
โรงพยาบาลอำนาจเจริญ โทร. (045) 511-940-8
สำนักงานจังหวัด โทร. (045) 511-909
สถานีขนส่งอำนาจเจริญ โทร. (045) 452511
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง โทร. (045) 512-007

Link ที่น่าสนใจ
สำนักงานจังหวัดอำนาจเจริญ
http://www.amnatcharoen.go.th/
ค่ะดิฉันขอจบการนำเสนอค่ะ